VAT@GOLD
รวมองค์ความรู้เกี่ยวกับเกี่ยวกับบัญชี / สรรพากร / ร้านทองปลีก

ความรู้เบื้องต้น


ก่อนจะเริ่มต้นจดนิติบุคคล มาดูแนวทางคร่าวๆกันก่อน

1. คู่มือภาษีอากรร้านทอง โดยกรมสรรพากร


2. การจดทะเบียน หจก. / บริษัทจำกัด


3. รวมเนื้อหา งานสัมมนาของสมาคมค้าทองเกี่ยวกับร้านทองเป็นนิติบุคคลตลอด 4 ครั้ง ปี 2559

ข่าว


วางแผนภาษี


การบัญชีบริหารและการวางแผนภาษีอากรเพื่อการตัดสินใจสำหรับร้านขายปลีก

บทนำ


ธุรกิจร้านค้าปลีกเมื่อต้องเข้าสู่การเป็นนิติบุคคล ผู้ประกอบการควรดำเนินธุรกิจด้วยความเข้าใจถึงการเริ่มต้นการเป็นนิติบุคคล เข้าใจบทบาทหน้าที่สำคัญ ความรับผิดชอบ ที่ต้องมีกับรัฐฯ ผู้เป็นหุ้นส่วน ลูกจ้าง ตลอดจนถึงท่านสามารถการวางแผนให้นิติบุคคลนี้ตกทอดแก่ผู้สืบทอดกิจการ

ข้าพเจ้าในฐานะผู้ทำบัญชีอิสระ ที่ปรึกษาธุรกิจบัญชีบริหารและบัญชีภาษีอากรเพื่อการตัดสินใจ จึงจัดทำคู่มือฉบับนี้โดยเป็นตัวอย่างสำหรับร้านค้าปลีกทองคำรูปพรรณขึ้นเพื่อผ่านงานสอนให้ความรู้ในด้านบัญชีบริหารบัญชีภาษีอากร มีความมุ่งหวังเสริมสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้ประกอบการสามารถปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฏหมายด้วยความเข้าใจพร้อมทั้งมีแนวทางปฏิบัติมีทางเลือกเพื่อการตัดสินใจ

ผู้เขียนหวังอย่างยิ่งว่าคู่มือฉบับนี้จะเป็นแรงบันดาลใจนำพาท่านผู้ประกอบการร้านปลีกดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้องบนความเข้าใจอย่างแท้จริง



นิรวาณ โสตถิพันธุ์
วันที่ 10 ธันวาคม 2559
ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีอิสระ ที่ปรึกษาธุรกิจ บัญชีบริหารและภาษีอากรเพื่อการตัดสินใจ
บริษัท เอสซีที ซอฟต์ จำกัด และบริษัท บ้านแม่ยุพา พิบูลย์ จำกัด

บทที่ 1

ความเข้าใจทั่วไปเกี่ยวกับผลการดำเนินงาน บัญชี ภาษี ธุรกิจค้าปลีก


ร้านค้าปลีกเป็นธุรกิจขายสินค้าที่มีความชัดเจนมากในเรื่องการของบริหารผลกำไร(ขาดทุน)ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ได้ไม่ว่าจะเป็นรายวันและสรุปเป็นรายเดือนหรือไม่ ด้วยเหตุผลสำคัญดังต่อไปนี้

  1. เก็บเงินสด* (รวมถึงการรูดบัตรเครดิต ถือเป็นเพียงลูกหนี้บัตรเครดิตระยะสั้นเท่านั้น)
  2. บวกอัตรากำไรขั้นต้นที่ชัดเจน
  3. ราคาขายที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว

ดังนั้นร้านค้าปลีกโดยทั่วไปเมื่อสิ้นวันถ้ามีระบบการบันทึกข้อมูลประจำวันที่ดี ไม่ว่าจะจัดทำด้วย สมุดการบันทึกธรรมดา ระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องบันทึกการเก็บเงิน สำคัญที่วิธีการรวบรวมข้อมูลที่ถูกต้อง ผู้ประกอบการจะตอบได้ทันทีว่าในแต่ละวันมีรายรับ-รายจ่าย มีภาษี กำไรเงินสดขั้นต้น และสิ้นเดือนเมื่อหักรายจ่ายรายเดือนแล้วผลดำเนินงานเป็นอย่างไร แม้ที่ผ่านมาท่านผู้ประกอบการอาจดูจากบัญชีเงินสดสุทธิในมือ/ธนาคารและที่ผ่านมาอาจจะบันทึกรายได้ไม่ครบในท้ายที่สุดแล้วสิ่งนั้นทำให้ผู้ประกอบการไม่ทราบผลการดำเนินงานและฐานะการเงินที่แท้จริงของตัวเอง เมื่อต้องเข้าสู่ระบบการแข่งขันทางการค้า การส่งมอบแก่ทายาท หรือการเข้าสู่ระบบนิติบุคคล บริษัทจำกัด/ห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ถูกต้อง หรือแม้บางกิจการเป็นนิติบุคคลแล้ว ไม่ได้รับองค์ความรู้เรื่องการวางแผนธุรกิจ การบัญชีเพื่อการบริหาร รวมถึงไม่เข้าใจถึงระบบภาษีของกิจการของตนเอง จากผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ย่อมทำให้เป็นที่กังวลอย่างมากเพราะความไม่รู้ ไม่เข้าใจ

ในขณะนี้ไม่ว่าท่านจะเป็นใคร สิ่งที่ท่านผู้ประกอบการต้องตระหนัก มีดังนี้

  • ความถูกต้อง บุคคลธรรมดา/ห้างหุ้นส่วนสามัญ/นิติบุคคล มียอดขายเกิน 1.8 ล้านบาทไม่เคยจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ยื่นภาษีจากรายได้ไม่เป็นจริงมาตลอดหรือต่ำกว่าจริง แต่ในขณะเดียวกันท่านก็มีรายจ่ายจำนวนหนึ่งที่มิได้บันทึกเช่นเดียวกัน จึงมิได้หมายความว่า การหลบเลี่ยงรายได้เป็นสิ่งที่ประหยัดที่สุด ที่ผ่านมาอาจเป็นเข้าใจผิดเกือบทั้งหมดก็เป็นไปได้และมีกิจการหลายประเภท เมื่อเป็นนิติบุคคลแล้วเสียภาษีน้อยกว่าบุคคลธรรมดา (แบบถูกต้อง) ข้อมูลที่เป็นเท็จย่อมไม่มีความจริง
  • ความเข้าใจ>ก่อนการตัดสินใจเป็นนิติบุคคลท่านควรดำเนินธุรกิจด้วยความเข้าใจโดยสามารถร่างผลประกอบการของตนเองได้โดยคำนึงรายจ่ายทั้งหมดของกิจการที่พึงมีรับทราบถึงการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วยการเข้าใจถึงการคำนวณภาษีและจำนวนภาษีที่ท่านต้องชำระ มิใช่เพียงทำหน้าที่ทำสำเนาและส่งเอกสารให้ผู้กอบวิชาชีพบัญชีทำตัวเลขอย่างไรก็ได้ และออกงบการเงินโดยที่ท่านต้องลงนามแบบไม่มีความรู้เข้าใจใดใดในงบการเงินนั้นเลย เมื่อท่านไม่มีความเข้าใจท่านย่อมมีความกลัว กังวลใจ ข้องใจ และสงสัย อยากเข้าใจแต่ผู้ทำบัญชีไม่มีความสามารถในการอธิบายได้
  • องค์ความรู้เกี่ยวกับการบัญชีเพื่อการบริหารและตัดสินใจแล้ว จะช่วยให้ท่านทำธุรกิจโดยมิต้องห่วงหน้าพะวงหลัง ดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล เป็นธรรมต่อตนเอง หุ้นส่วน และลูกจ้าง หรือจักส่งมอบธุรกิจแก่ทายาทย่อมมีความชัดเจน และลดความขัดแย้งได้ในอนาคต ทั้งนี้มีธุรกิจมากมายที่ต้องปิดกิจการไปเพราะไม่ชัดเจนของผลประกอบการ เพราะความขัดแย้ง ความผิดทางภาษี ผลกำไรที่เคยทำได้ที่ผ่านมาต้องนำมาจ่ายภาษีอาจจะทั้งหมดหรือมากกว่า หรือต้องมีการเรียนเงินคืนแก่ผู้เป็นหุ้นส่วน เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง

สรุป ธุรกิจค้าปลีกเป็นธุรกิจที่มีผลประกอบการที่ชัดเจนไม่มีความซับซ้อน ขอเพียงท่านมีความเข้าใจตัวเลขกำไร(ขาดทุน)ประจำเดือนรวมถึงภาษีในเบื้องต้นทราบได้ทันที ดังนั้นการตัดสินใจเป็นนิติบุคคลจึงไม่ประเด็นที่ท่านต้องกังวลอีกต่อไป

บทที่ 2

การเริ่มต้นเป็นนิติบุคคล


จุดเริ่มต้นของธุรกิจส่วนตัวคือการทำธุรกิจเจ้าของคนเดียว เมื่อถึงเวลาที่ธุรกิจนั้นมีขนาดที่เหมาะสม หรือภาครัฐมีนโยบายเพื่อการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงมีความจำเป็น ธุรกิจนั้นจะเข้าสู่ระบบนิติบุคคล ร้านค้าปลีกเช่นเดียวกัน ผู้ประกอบการควรมีความรู้พื้นฐานที่สำคัญ 5 ประการ ดังต่อไปนี้

  1. ความรับผิดของนิติบุคคล บริษัทจำกัด มีความหมายว่า หน่วยธุรกิจนี้มีความรับผิดจำกัดเพียงทุนที่เรียกชำระแล้วเท่านั้น จึงแตกต่างจากการดำเนินธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา ที่มีความรับผิดไม่จำกัดสามารถถูกฟ้องร้องได้ถึงทรัพย์สินส่วนตัวของผู้เป็นเจ้าของ ในขณะที่ บริษัทจำกัด รับผิดเพียงทุนจดทะเบียนรับชำระแล้วเท่านั้น
  2. การก่อตั้งนิติบุคคล บริษัทจำกัดเริ่มต้นจะบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป การก่อการเริ่มจดบริษัทนั้น ท่านต้องมีความชัดเจนว่าใครคือเจ้าของกิจการ ผู้นั้นคือผู้ที่ถือหุ้นใหญ่สัดส่วนควรไม่น้อยกว่าร้อยละ 75-80 ขึ้นไป เพราะ การดำเนินธุรกรรมที่สำคัญของบริษัทด้วยมติพิเศษ ต้องใช้เสียงไม่น้อยกว่าร้อยละ 75-80 ดังนั้นสิทธิ์ขาดการตัดสินใจจึงเป็นของเจ้าของกิจการอย่างแท้จริงเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมากที่ท่านต้องชัดเจน
  3. การเปลี่ยนถ่ายธุรกิจครอบครัวสู่บริษัทจำกัด จึงเป็นการเปลี่ยนถ่ายกึ่งการแบ่งมรดก ถ้าผู้เป็นเจ้าของเป็นรุ่นบุกเบิกมีความประสงค์เป็นเจ้าของกิจการดั่งเดิม ชนรุ่นหลังควรถือหุ้นเพียงน้อยไม่เกินร้อยละ 20-25 นอกจากนี้ ในการแบ่งส่วนความเป็นเจ้าของธุรกิจจากการทำงานร่วมกันและการรับผลประโยชน์จากการทำธุรกิจร่วมกัน ท่านผู้ก่อตั้งและผู้ดำเนินธุรกิจจะต้องทำความเข้าใจและมีความชัดเจนในสัดส่วนการถือครองหุ้น และการแต่งตั้งทีมงานบริหารของกิจการ
  4. การกำหนดผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท จะต้องเป็นผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการหรือหุ้นใหญ่ที่สุดนั่นเอง การเป็นผู้มีอำนาจลงนามนอกจากการลงนามในนิติกรรมสัญญาต่างๆแล้ว ยังรวมถึงธุรกรรมทางธนาคาร และความรับผิดชอบต่อภาษีด้วย
  5. ทุนจดทะเบียนของบริษัทที่เหมาะสม ควรมีให้เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจ ซึ่งได้แก่ เพียงพอการจัดซื้อสินค้าเพื่อขาย การจัดซื้อทรัพย์สิน และทุนหมุนเวียนในกิจการ หากมีไม่เพียงพอก็มีแนวทางยืมเงินจากผู้เป็นหุ้นส่วนอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องปกติของธุรกิจขนาดเล็กที่เป็นเจ้าของใหญ่คนเดียว และมีความพร้อมที่จะแปลงหนี้เงินกู้ยืมกรรมการเป็นทุนได้ทันที แต่ทั้งนี้เป็นเรื่องที่ต้องระวังเพราะการยืมของแต่ละกิจการไม่เหมือนกัน ท่านต้องพิจารณาว่าการที่กิจการยืมบุคคลมาดำเนินธุรกิจนั้นยืมในระยะสั้นมีการวางแผนคืนเงินอย่างไร กรณียืมเงินในระยะยาวอาจสร้างความไม่เป็นธรรมในระบบหุ้นส่วน หรือธุรกิจที่ร่วมกันทำงานหลายคน เมื่อกิจการมีกำไรสะสมและมีการประกาศจ่ายเงินปันผล ย่อมจ่ายเงินปันผลตามสัดส่วนของผู้ถือหุ้น มิได้มีเงินปันผลต่อเงินให้กู้ยืมกรรมการ ดังนั้นถ้าเงินกู้ยืมกรรมการเป็นบุคคลที่มิใช่เป็นหุ้นส่วนใหญ่จึงควรมีผลตอบแทนดอกเบี้ยจ่าย เป็นรายจ่ายอยู่ในระดับสากลเพื่อสะท้อนความสามารถในการทำกำไรของกิจการที่แท้จริง
  6. การเปลี่ยนถ่ายจากธุรกิจบุคคลธรรมดาสู่นิติบุคคล มี 2 แบบ

    แนวทางแบบไม่โอนกิจการ

    • แนวปฏิบัติคือ ร้านค้าปลีกในนามบุคคลธรรมดา แนวทางนี้หมายถึง ร้านค้าปลีกหน่วยภาษีบุคคลธรรมดาดำเนินธุรกิจทยอยจำหน่ายสินค้าจนหมดภายในระยะเวลาที่เหมาะสมโดยนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือนจำนวนสูงเพื่อแสดงให้ถึงว่าสินค้าที่มีพร้อมจำหน่ายหมดตามที่เคยได้จดทะเบียนไว้
    • ในขณะที่จดทะเบียนบริษัทจำกัด เตรียมความพร้อมสำหรับการดำเนินธุรกิจในฐานะนิติบุคคล กลุ่มผุ้ถือหุ้นอาจเป็นเจ้าของเดิม หรือเพิ่มเติมผู้สืบทอดกิจการถือเป็นการให้โอกาสแก่ทายาทอย่างเป็นทางการ
    • เหมาะสำหรับร้านค้าปลีกที่เป็นบุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียนอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเพราะที่ผ่านมารายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ถือเป็นหน่วยภาษีบุคคลธรรมดายื่นแต่ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามาตลอด
    • เหมาะสำหรับร้านค้าปลีกที่มีความประสงค์ปรับโครงสร้างเจ้าของกิจการ โดยกลุ่มผู้ถือหุ้นในบริษัทนั้นอาจไม่ใช่สัดส่วนเดิม (เดิมทำแบบครอบครัว ครัวเรือน ญาติมิตร หรือเพื่อน)
    • สินค้าในส่วนที่เหลือของบุคคลธรรมดาในจำนวนไม่มาก บริษัททำการซื้อเข้ามาเป็นสินค้าเพื่อจำหน่ายได้โดยทำการซื้อได้จากบุคคลที่มิได้จดทะเบียนอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

    แนวทางแบบโอนกิจการ แนวปฏิบัติคือ ทำการเปิดนิติบุคคลใหม่ขึ้นมาก่อน โดยมีทุนจดทะเบียนที่เหมาะสม คำว่าเหมาะสม คือพอเหมาะเพียงพอในระดับหนึ่งต่อการดำเนินธุรกิจ เหมาะกับธุรกิจที่มีความเป็นเจ้าของบุคคลเดียวกันและมีความประสงค์จะใช้สิทธิทางภาษีตามกฎหมาย

บทที่ 2.1

ทุนจดทะเบียนร้านค้าปลีกทองคำรูปพรรณ


กรณีเจ้าของธุรกิจมีความประสงค์ใช้วิธีการโอนกิจการ มีแนวปฏิบัติเปลี่ยนแปลงธุรกิจในรอบบัญชี 2559-2560 ดังนี้

ตัวอย่าง ธุรกิจร้านทองมีทองหน้าร้านโดยประมาณ 1,000 บาททอง มียอดขายทองเดือนละประมาณ 100 บาททอง มีความประสงค์จดทะเบียนเป็นบริษัทมีแนวปฏิบัติดังนี้

การจดทะเบียนบริษัทจำกัด ร้านทองโดยทั่วไปมีคำถามว่า ควรจดทะเบียนเท่าไหร่ ดังนั้นเมื่อร้านทอง ควรพิจารณาจำนวนเงินทุนจดทะเบียนให้เหมาะสม กับจำนวนบาททองที่ร้าน เพราะระบบสินค้าร้านทองนั้นเป็นลักษณะโชว์สินค้าเต็มร้าน และเมื่อขายได้ จึงมีการซื้อเติมให้มีสินค้าโชว์ในจำนวนใกล้เคียงกับจำนวนที่มีอยู่เดิม เพื่อพร้อมขาย และการแข่งขันทางการตลาดแนวปฏิบัติดังนี้

  1. ภายในรอบบัญชีปี 2559 จำนวนเงินบาททองหน้าร้านประมาณ 1,000 บาททอง บาททองละ 20,000 บาท ทุนจดทะเบียนที่เหมาะสมคือประมาณยี่สิบล้านบาท บริษัทสามารถเรียกชำระค่าหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้า โดยทุนชำระแล้วควรมีจำนวนเงินให้เพียงพอแก่รับโอนกิจการ้านทองบุคคลธรรมดา และเงินสดหมุนเวียนหน้าร้านของกิจการ เป็นต้นคือ ทุนจดทะเบียนยี่สิบล้าน รับชำระค่าหุ้นร้อยละยี่สิบห้า นั่นหมายความว่า
    • ก.1 ทุนจดทะเบียนในหนังสือรับรองคือ จำนวนเงินยี่สิบล้านบาท
    • ก.2 บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นแสดงทุนรับชำระแล้วร้อยละยี่สิบห้าคือ จำนวนเงินห้าล้านบาท
  2. ในรอบบัญชี 2560 บริษัท ทยอย ยืมเงินกรรมการเพื่อซื้อทองเติมหน้าร้านตามลำดับจนครบ 1,000 บาททอง ณ วันสิ้นรอบบัญชี 2560 บริษัทสามารถแสดงบัญชีสินค้าคงเหลือทองได้ถูกต้องตามความเป็นจริง
  3. ทุนจดทะเบียนและหรือทุนรับชำระแล้วผู้ประกอบการมักเป็นกังวลว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเสียภาษี การเสียภาษีนั้นเกิดขึ้นในกรณีเดียวคือ เมื่อขายสินค้า จะมีภาษีมูลค่าเพิ่ม และเมื่อสิ้นรอบบัญชีมีกำไรสุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว จึงจะมีภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ร้อยละยี่สิบ ดังนั้น ตราบใดที่กิจการยังมิได้ขายทอง แม้ว่าทองจะในราคาตลาดมีมูลค่าเพิ่มขึ้นหรือลดลง บริษัท ยังมิต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีนิติบุคคลแต่อย่างไร
  4. ข้อสังเกตุ จำนวนทุนจดทะเบียนและหรือทุนชำระแล้ว เป็นการแสดงถึงข้อเท็จจริงในเบื้องต้นของสินค้าคงเหลือตามบัญชีของบริษัทดังนั้นการแสดงยอดขายที่เป็นจริงเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นยังคงอยู่มิได้หมายว่าทุนจดทะเบียนน้อยจะเสียภาษีภาษีมูลค่าเพิ่มน้อยหรือทุนจดทะเบียนมากเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวนมาก ขึ้นอยู่กับยอดขายจริงหน้าร้านว่าขายได้กี่บาททองต่อเดือน

การโอนกิจการร้านทองจากบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคล เมื่อจดทะเบียนบริษัทใหม่แล้ว ดำเนินการโอนร้านทองจากหน่วยภาษีบุคคลธรรมดา คำถามบ่อยของร้านทองคือ ควรโอนเท่าไหร่ โดยปกติแล้วในอดีตที่ผ่านมาร้านทองแสดงแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบเหมาจ่าย คือ ภงด.90ประจำปีโดยมีผู้ทำบัญชีและหรือสำนักงานบัญชีนำส่งแบบให้ พร้อมทั้งดูแลด้านภาษีมูลค่าเพิ่มรายเดือน และภาษีเงินได้นิติบุคคลกลางปี และประจำปี ดังนั้น การโอนสินค้าคงเหลือจำนวนบาททองมีแนวปฏิบัติดังนี้

  • ให้ร้านทองนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มเดือน ธันวาคม 2559 จำนวนสูงกว่าปกติ เพื่อแสดงความจำนงว่าร้านทองมีความประสงค์ขายทองออกไปจำนวนมาก เพื่อเตรียมความพร้อมในการโอนกิจการเฉพาะส่วนทีเหลืออยู่
  • จึงมีจำนวนบาททองเพื่อโอนสินค้าทองจากบุคคลธรรมดาไปนิติบุคคลคงเหลือจำนวนไม่มาก อาจเริ่มต้นที่ 100 บาททองเช่นบาทละ 20,000 บาท คือโอนด้วยการชำระเงินจริง 2,000,000 บาท หลังจากที่ได้จดทะเบียนบริษัทใหม่แล้วเท่านั้น โดยย้ำว่า ทุนชำระแล้ว ควรมีจำนวนเงินให้เพียงพอแก่รับโอนกิจการ้านทองบุคคลธรรมดาในเบื้องต้น
  • ข้อสังเกตุทุนรับชำระแล้ว ใช้เงินทุนรับชำระแล้วในการรับโอนกิจการสินค้าทอง จำนวนเงินประมาณ 2 ล้านบาท ที่เหลือ จัดสรร เพื่อการซื้อสินค้าเติม อีก 3 บ้านบาท ได้ทองอีกประมาณ 150 บาททอง รวมมีสินค้าพร้อมขายเริ่มต้นที่ 250 บาททอง ดังนั้นที่เหลือจึงยืมเงินกรรมการมา หรือเรียกชำระค่าหุ้นเพิ่มเติม เพื่อซื้อทองเติมหน้าร้านเพิ่มเติมต้นปี 2560 จำนวน 750 บาททองหรือเป็นจำนวนเงิน 15 ล้านบาท ทยอยเติมสินค้าจนครบ 1,000 บาททอง

    จำนวนบาททองคำ จำนวนเงิน (บาท)
    รวม 1,000 20,000,000
    ทุนรับชำระแล้วร้อยละยี่สิบห้า 5 ล้านบาท ภายในปี 2559
    - รับโอน 100 2,000,000
    - ซื้อทองเติมมีใบกำกับภาษี (ภาษีซื้อใช้ลดภาษีขาย) 150 3,000,000
    เรียกชำระค่าหุ้นเพิ่มเติมในปี 2560 ร้อยละ 75 หรือยืมกรรมการ
    - ซื้อทองเติมมีใบกำกับภาษี (ภาษีซื้อใช้ลดภาษีขาย) 750 15,000,000

  • กรณีทุนรับชำระ 5 ล้านบาทขึ้นไปบริษัทต้องสำแดงเงินในบัญชีธนาคารต่อเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ท่านสามารถหารือแนวปฏิบัติและการนำส่งหลักฐานลำดับขั้นตอนต่างๆ จากจากเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาและประสานงานกับเจ้าหน้าที่ธนาคารที่ท่านมีบัญชีเงินฝากอยู่และธนาคารที่ท่านประสงค์จะใช้เปิดบัญชีบัญชีธนาคารของบริษัทฯ
  • ในกรณีที่บริษัทมีความพร้อมในการเรียกชำระค่าหุ้นให้ครบ ควรกระทำในรอบบัญชี 2560 แต่ทั้งนี้การยืมการเงินกรรมการเพื่อซื้อทองสามารถทำได้ในเบื้องต้น เมื่อบริษัทฯมีความพร้อม จึงทยอยเพิ่มทุนรับชำระแล้ว เพื่อคืนเงินกรรมการ นั่นหมายความว่า แม้เจ้าของร้านทองจะออกเงินซื้อทองให้บริษัท ไปก่อน แต่ก็จะได้รับเงินคืน เพื่อเรียกชำระทุนเพิ่มนั่นเอง

สรุป การเริ่มต้นเป็นนิติบุคคล ท่านต้องยอมรับเรื่องการเปลี่ยนถ่ายมาเป็นระบบธุรกิจที่มีความเป็นสากล ชัดเจนเรื่องความเป็นเจ้าของ บุคคลหรือกลุ่มคนผู้มีสิทธิขาดในการลงนามผูกพัน ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ บุคคลหรือกลุ่มคนบริหาร ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม กำหนดทุนจดทะเบียนให้เหมาะสมกับขนาดธุรกิจของท่าน มุ่งดำเนินธุรกิจอย่างมีความเข้าใจในตัวเลขผลประกอบการรับรู้ข้อเท็จจริงที่สามารถอธิบายได้ในภาพรวมของผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกิจการด้วยตัวท่านเอง

บทที่ 3.1

บัญชีบริหารเพื่อการตัดสินใจร้านค้าปลีกทองคำรูปพรรณ


เมื่อร้านค้าปลีกทองคำรูปพรรณดำเนินธุรกิจเป็นนิติบุคคล ผู้ประกอบการควรมีความเข้าใจในผลการดำเนินงานหรืองบกำไร(ขาดทุน) โดยสามารถประมาณการตัวเลขกำไร(ขาดทุน) และเมื่อได้รับงบการเงินจากผู้ทำบัญชี ท่านสามารถเข้าใจความแตกต่างของตัวเลขกำไร(ขาดทุน) ที่เกิดขึ้นจริงในงบการเงินของท่าน ควรอธิบายได้ว่ามาจากการนโยบายและการบริหารราคาทอง สินค้าทองในร้าน ค่ากำเหน็ด รับฝากจำนำทอง การรับซื้อทองเก่า ค่าใช้จ่ายทางการตลาด ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อนำมาใช้ในการตัดสินในธุรกิจ

ผู้เขียนมีตัวอย่างผลการดำเนินงานร้านค้าปลีกทองคำรูปพรรณยอดขายเดือนละ 100-300 บาททอง

  • เพื่อให้ท่านได้ทดลองจัดทำประมาณการผลการดำเนินงานร้านของท่าน
  • กำหนดค่าใช้จ่าย
  • รับทราบถึงภาษีอากร
  • นำมาใช้เพื่อการบริหารและการตัดสินใจเรื่อง นโยบายและการบริหารด้านต่างๆ โดยที่ผ่านมาท่านอาจมีนโยบายและการบริหารแต่เดิมอยู่แล้ว เพียงแต่เมื่อท่านเป็นนิติบุคลล ตัวเลขดังกล่าวจะสะท้อนลงไปในรายงานทางการเงิน ฯลฯ
  • วางแผนการดำเนินธุรกิจ วางแผนการขยายกิจการ(ถ้ามี) การส่งมอบกิจการแก่ทายาท ระบบภาษีอากร วางแผนค่าใช้จ่าย วางแผนการตอบแทนผู้บริหารและลูกจ้าง รวมถึงวางแผนการตอบแทนผลประโยชน์แก่ท่านผู้ถือหุ้นได้อย่างสมเหตุสมผล ฯลฯ

สรุป ท่านผู้ประกอบการมีความเข้าใจในเนื้อหาที่แสดงในรายงานทางการเงินนิติบุคคลของท่าน

บทที่ 3.2

ตัวอย่างผลการดำเนินงานร้านค้าปลีกทองคำรูปพรรณ


ร้านค้าปลีกทองคำรูปพรรณ
รายได้ต่อเดือน จำนวนเงิน บาททอง บาททอง บาททอง บาททอง บาททอง
จำนวนบาททอง บาท 100 150 200 250 300
ราคาขายบาทละ 20,000 2,000,000 3,000,000 4,000,000 5,000,000 6,000,000
ต้นทุนมาตราฐาน 19,900 1,990,000 2,985,000 3,980,000 4,975,000 5,970,000
ต้นทุนจริงเฉลี่ย 19,500 1,950,000 2,925,000 3,900,000 4,875,000 5,850,000
กำไร (ขาดทุนบริหาร) 40,000 60,000 80,000 100,000 120,000
กำไรจากบริหารงานซื้อทอง 50,000 75,000 100,000 125,000 150,000
ค่ากำเหน็ดเฉลี่ยบาทละ 1,000 100,000 150,000 200,000 250,000 300,000
ต้นทุนค่ากำเหน็ดบาทละ 200 20,000 30,000 40,000 50,000 60,000
กำไรจากบริหารค่ากำเหน็ด 800 80,000 120,000 160,000 200,000 240,000
รวมกำไรก่อนค่าใช้จ่ายขายทอง 130,000 195,000 260,000 325,000 390,000
รายจ่ายเงินเดือนเจ้าของ 2 ท่าน 100,000 120,000 150,000 150,000 200,000
รายจ่ายอื่น 30,000 40,000 80,000 150,000 150,000
หักรายจ่ายจริงรวม 130,000 160,000 230,000 300,000 350,000
รวมกำไรขายทองคำรูปพรรณ - 35,000 30,000 25,000 40,000
เงินลงทุนขายฝาก 2,000,000 2,000,000 4,000,000 5,000,000 5,000,000
รายได้ดอกเบี้ยรับขายฝาก 2% 40,000 40,000 80,000 100,000 100,000
ต้นทุนดอกเบี้ย 1.25% 25,000 25,000 50,000 62,500 62,500
กำไรจากการบริหารทุนขายฝาก 15,000 15,000 30,000 37,500 37,500
การวางแผนภาษี
กำไรก่อนภาษี 15,000 50,000 60,000 62,500 77,500
ภาษีนิติบุคคล 20% 3,000 10,000 12,000 12,500 15,500
ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% 1,320 1,320 2,640 3,300 3,300
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% 4,243 6,539 7,785 7,981 10,628
ร้านค้าปลีกทองคำรูปพรรณ ตารางการประมาณภาษีมูลค่าเพิ่มจ่ายสุทธิ
รายได้ต่อเดือน จำนวนเงิน บาททอง บาททอง บาททอง บาททอง บาททอง
จำนวนบาททอง บาท 100 150 200 250 300
ราคาทองขาย 20,000 2,000,000 3,000,000 4,000,000 5,000,000 6,000,000
ค่ากำเหน็ดเฉลี่ยบาทละ 1,000 100,000 150,000 200,000 250,000 300,000
รวมรับ 2,100,000 3,150,000 4,200,000 5,250,000 6,300,000
หักราคายกเว้น 19,542 1,954,180 2,931,270 3,908,360 4,885,450 5,862,540
หักราคายกเว้น 145,820 218,730 291,640 364,550 437,460
ภาษีมุลค่าเพิ่มภาษีขาย 9,540 14,309 19,079 23,849 28,619
ราคาทองซื้อ 19,500 1,950,000 2,925,000 3,900,000 4,875,000 5,850,000
ค่ากำเหน็ดซื้อ 200 20,000 30,000 40,000 50,000 60,000
รวมซื้อ 1,970,000 2,955,000 3,940,000 4,925,000 5,910,000
หักราคายกเว้น 19,051 1,905,080 2,857,620 3,810,160 4,762,700 5,715,240
ผลต่างรวมภาษี 64,920 97,380 129,840 162,300 194,760
ภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีซื้อ 4,247 6,371 8,494 10,618 12,741
ภาษ๊มูลค่าเพิ่มรายจ่ายอื่น1/2 7.0% 1,050 1,400 2,800 5,250 5,250
รวมภาษีซื้อ 5,297 7,771 11,294 15,868 17,991
รวมภาษีมูลค่าเพิ่มจ่ายสุทธิ 4,243 6,539 7,785 7,981 10,628

ตารางแบบฝึกหัดสำหรับผู้เรียน : ผลการดำเนินงานร้านค้าปลีกทองคำรูปพรรณ

บทที่ 4

บัญชีสินค้าคงเหลือแบบง่ายเพื่อการตัดสินใจ


บัญชีสินค้าคงเหลือราคาทุนเฉลี่ย
รายการ หน้าร้าน ตู้เซฟ สำรอง คงเหลือ ราคา มูลค่ารวมทุน
สินค้าคงเหลือ จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน ต่อหน่วย จำนวนเงิน
สรุปรายเดือน บาททอง บาททอง บาททอง บาททอง บาท บาท
มกราคม
ยกมาต้นเดือน 800 100 100 1,000 19,900 19,900,000
ขายสำหรับเดือน -300 700 19,900 -5,970,000
คงเหลือหลังขาย 13,930,000
ซื้อระหว่างเดือน 300 1,000 19,700 5,910,000
             
คงเหลือสิ้นเดือน 800 100 100 1,000 19,840 19,840,000
ราคาตลาด 800 100 100 1,000 19,650 19,650,000
ราคาตลาดสูง(ต่ำ)กว่า -190,000
ค่ากำเหน็ดขายหักค่ากำเหน็ดซื้อเฉลี่ย 800 800,000
บัญชีสินค้าคงเหลือราคาทุนเฉลี่ย
รายการ หน้าร้าน ตู้เซฟ สำรอง คงเหลือ ราคา มูลค่ารวมทุน
สินค้าคงเหลือ จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน ต่อหน่วย จำนวนเงิน
สรุปรายเดือน บาททอง บาททอง บาททอง บาททอง บาท บาท
กุมภาพันธ์
ยกมาต้นเดือน 800 100 100 1,000 19,840 19,650,000
ขายสำหรับเดือน -250 750 19,840 -4,960,000
คงเหลือหลังขาย 14,690,000
ซื้อระหว่างเดือน 250 1,000 19,650 4,912,500
             
คงเหลือสิ้นเดือน 800 100 100 1,000 19,603 19,602,500
ราคาตลาด 800 100 100 1,000 19,800 19,800,000
ราคาตลาดสูง(ต่ำ)กว่า 197,500
ค่ากำเหน็ดขายหักค่ากำเหน็ดซื้อเฉลี่ย 700 700,000
บัญชีสินค้าคงเหลือราคาทุนเฉลี่ย
รายการ หน้าร้าน ตู้เซฟ สำรอง คงเหลือ ราคา มูลค่ารวมทุน
สินค้าคงเหลือ จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน ต่อหน่วย จำนวนเงิน
สรุปรายเดือน บาททอง บาททอง บาททอง บาททอง บาท บาท
มีนาคม
ยกมาต้นเดือน 800 100 100 1,000 19,603 19,800,000
ขายสำหรับเดือน -150 850 19,603 -2,940,375
คงเหลือหลังขาย 16,859,625
ซื้อระหว่างเดือน 150 1,000 19,800 2,970,000
ย้ายสินค้า 200 -100 -100 0    
คงเหลือสิ้นเดือน 1,000 0 0 1,000 19,830 19,829,625
ราคาตลาด 1,000 0 0 1,000 20,000 20,000,000
ราคาตลาดสูง(ต่ำ)กว่า 170,375
ค่ากำเหน็ดขายหักค่ากำเหน็ดซื้อเฉลี่ย 600 600,000

แบบฝึกหัด : บัญชีสินค้าคงเหลือแบบง่ายเพื่อการตัดสินใจ

ถาม-ตอบ ภาษีร้านทอง


  • เถ้าแก่ร้านทอง 1

    การเสียภาษีของร้านทองระหว่างบุคคลธรรมดากับนิติบุคคล แตกต่างกันอย่างไร

  • 1 SCT Consult

    นิติบุคคล หลักการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเสียจากกำไรสุทธิทางภาษีอากร มีอัตราไม่เกินร้อยละ 20 กำไรสุทธิทางภาษีอากรหมายถึงกำไรทางบัญชีที่บวกกลับด้วยรายจ่ายต้องห้ามทางภาษีอากร


    บุคคลธรรมดา หลักการเสียภาษีจากรายได้สุทธิหลังหักลดหย่อนอัตราภาษีสูงสุดที่ร้อยละ 35

  • เถ้าแก่ร้านทอง 2

    ทุนจดทะเบียนที่เหมาะสมกับร้านค้าทองควรอยู่ที่เท่าไหร่ และมีหลักการในการพิจารณาอย่างไร

  • 2 SCT Consult

    หลักการพิจารณาทุนจดทะเบียนร้านค้าปลีกทองรูปพรรณ ควรเริ่มต้นไม่น้อยกว่าทองรูปพรรณที่มีไว้พร้อมขายทั้งหมดสินค้าโชว์หน้าร้าน เช่น 500 - 1,000 บาท ราคารับซื้อบาทละ 18,000 - 19,000 ทุนจดทะเบียนเริ่มต้นที่ 10 - 20 ล้านบาทเป็นอย่างน้อย โดยสามารถจดทะเบียนด้วยทองได้ กรณีนี้ยังไม่รวมถึงเงินสดหมุนเวียนหรือเงินลงทุนในธุรกิจรับฝากจำนำทองและการลงทุนในทรัพย์สินของบริษัท

  • เถ้าแก่ร้านทอง 3

    กรณีที่นิติบุคคลจดทะเบียนทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท แต่สามารถซื้อสต๊อกสินค้าโดยทำเป็นเงินกู้ยืมกรรมการ จำเป็นหรือไม่ ที่จะต้องมีผลตอบแทน และมีเพดานเงินกู้ยืมกรรมการอย่างไร

  • 3 SCT Consult

    อ้างอิงจากข้อ 2 กรณีทุนจดทะเบียนมีจำนวนต่ำเกินความเป็นจริงสำหรับธุรกิจ ที่เหลือจึงมีความจำเป็นต้องบันทึกเป็นเงินกู้ยืมกรรมการไปมาระหว่างกันจำนวนมาก ผลตอบแทนแก่ผู้ให้กู้ยืมนั้นเป็นเรื่องข้อตกลงระหว่างบริษัทกับผู้ให้กู้ยืมเอง

  • เถ้าแก่ร้านทอง 4

    กรณีต้องการจะโอนสินค้าทองคำจากบุคคลธรรมดาไปเข้านิติบุคคลใหม่ ในรูปแบบสต๊อก มีวิธีการโอนกี่วิธี อย่างไร

  • 4 SCT Consult

    บุคคลธรรมดาควรเลือกโอนกิจการทั้งหมดโดยโอนเพียงสินทรัพย์อื่น สำหรับสินค้าทองเลือกวิธีนำไปจดทะเบียนเป็นทุน และเลือกที่จะชำระภาษีมุลค่าเพิ่มในเดือนที่เลิกกิจการบุคคลธรรมดามากกว่าปกติ ท่านจะไม่เสี่ยงโอนประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการโอนสินค้าทอง

  • เถ้าแก่ร้านทอง 5

    การยื่นปิดร้านทองที่เป็นบุคคลธรรมดาสิ้นปีนี้ ควรยื่นไม่เกินวันที่ 15/12/59 ใช่หรือไม่ หากไม่สามารถยื่นปิดกิจการบุคคลธรรมดาในสิ้นปีนี้ ควรจะทำอย่างไร และจะมีผลต่อการทำบัญชีในปี 2560 หรือไม่

  • 5 SCT Consult

    เมื่อท่านมีความเข้าใจเพียงพอและพร้อมท่านสามารถดำเนินการจดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ และดำเนินการโอนกิจการจากบุคคลธรรมดาทั้งหมดไปยังนิติบุคคลใหม่เมื่อท่านพร้อม การจดแจ้งโอนกิจการต้องจดแจ้งไม่น้อยกว่า 15 วัน ท่านสามารถเริ่มดำเนินการตามลำดับได้แต่บัดนี้เป็นต้นไป

    คำกล่าวที่ว่า โอนย้ายภายใน 15 ธันวาคม 2559 ด้วยเหตุที่นโยบายภาพรวมต้องการให้ท่านบอกเลิกก่อน 15 วัน วันที่เลิกกิจการบุคคลธรรมดาคือ 31 ธันวาคม 2559 ท่านสามารถดำเนินการหลังจากนั้นได้ เพียงแต่วันเลิกกิจการของท่านจะเลื่อนไปตามลำดับ เมื่อวันเลิกเป็นปี 2560 ท่านก็มีจะภาษีมูลค่าเพิ่ม ในเดือน มกราคม หรือกุมภาพันธ์ ตามลำดับ และยังคงต้องยื่นรายได้บุคคลธรรมดาสำหรับปี 2560 ภายในสิ้นเดือน มีนาคม 2561 ก็มิได้ถือว่าทำผิดแต่อย่างใด

  • เถ้าแก่ร้านทอง 6

    ร้านทองจะสามารถจดนิติบุคคลแบบคนเดียวได้หรือไม่ มีข้อดี ข้อเสีย กับการจดบริษัท 3 คน อย่างไร

  • 6 SCT Consult

    ตามกฏหมายในปัจจุบัน การจดนิติบุคคล แบบบุคคลเดียวสามารถจดนิติบุคคลได้แล้ว และเเถมยังรวดเร็วกว่าแบบมีผู้ร่วมก่อตั้ง 3 คนอีกด้วย

  • เถ้าแก่ร้านทอง 7

    ร้านทองสามารถใช้สินค้าทองคำจากร้านเดิมที่เป็นบุคคลธรรมดาโอนไปเป็นทุนของนิติบุคคลใหม่ ได้หรือไม่ และมีขั้นตอนอย่างไร

  • 7 SCT Consult

    อ้างอิงคำตอบจากข้อ 2, 3 และข้อ 4 ท่านสามารถนำทองของท่านมาเป็นทุนจดทะเบียนบริษัทจำกัดได้ ท่านสามารถหารือได้จาก กรมพัฒนาธุรกิจ และหรือผู้รับบริการจดทะเบียนของท่าน

  • เถ้าแก่ร้านทอง 8

    เครื่องบันทึกเงินสดเก่าในร้านทองเดิมบุคคลธรรมดาสามารถโอนทรัพย์สินดังกล่าวไปยังบริษัทนิติบุคคลใหม่ได้หรือไม่

  • 8 SCT Consult

    ถ้าท่านมีความประสงค์จะโอนสินทรัพย์อื่นใดๆ ท่านสามารถทำได้

  • เถ้าแก่ร้านทอง 9

    หากต้องการติดตั้งเครื่องบันทึกเงินสดเพื่อออกใบกำกับภาษีแบบย่อ นิติบุคคลจะต้องแจ้งทางสรรพากรให้มาตรวจสอบหรือไม่

  • 9 SCT Consult

    ผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้นจึงจะขออนุญาติขอออกใบกำกับภาษีอย่างย่อด้วยเครื่องบันทึกการเก็บเงิน ตรวจสอบหรือไม่อย่างไรท่านสอบถามจากสรรพากรพื้นที่ของท่านได้

  • เถ้าแก่ร้านทอง 10

    หากร้านทองอยู่ต่างจังหวัด จะสามารถใช้สำนักงานบัญชีที่อยู่จังหวัดอื่นหรือที่กรุงเทพ ได้หรือไม่ และจะยุ่งยากมากน้อยแค่ไหน

  • 10 SCT Consult

    ท่านสามารถใช้บริการผู้ทำบัญชีที่จังหวัดใดๆ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างกัน

  • เถ้าแก่ร้านทอง 11

    ร้านทองที่จดนิติบุคคลใหม่ สามารถทำบัญชีเองโดยไม่ต้องจ้างผู้ทำบัญชีได้หรือไม่ มีความยุ่งยากและค่าใช้จ่ายมากน้อยแค่ไหน

  • 11 SCT Consult

    ตามกฏหมายแล้วท่านต้องมีผู้ทำบัญชีที่ขึ้นทะเบียนและผู้สอบบัญชีที่ขึ้นทะเบียน ค่าใช้จ่ายแล้วแต่ท่านตกลงกัน

  • เถ้าแก่ร้านทอง 12

    ค่าใช้จ่ายอะไรที่สามารถนำมาหักนิติบุคคลได้ และการหักค่าใช้จ่ายแต่ละประเภทมีข้อจำกัดหรือไม่

  • 12 SCT Consult

    นิติบุคคลสามารถบันทึกค่าใช้จ่ายได้ตามจริง ถ้าท่านได้จ่ายออกไปจริง เพียงแต่ ค่าใช้จ่ายทางภาษีอากรอาจถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม เช่น เกินสมควร พิสูจน์ผู้รับไม่ได้ รายจ่ายส่วนตัว รายจ่ายสำรอง และอื่นๆ ตามที่กฏหมายกำหนด หารือได้กับนักบัญชีของท่าน

  • เถ้าแก่ร้านทอง 13

    กรณีนิติบุคคลใหม่ไม่ออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้าจะมีความผิดและโทษปรับอย่างไร

  • 13 SCT Consult

    เป็นไปตามประมวลรัษฎากร

  • เถ้าแก่ร้านทอง 14

    กรณีลูกค้าซื้อทองรูปพรรณและไม่มีบัตรประชาชน หรือ ไม่ยอมระบุที่อยู่ ร้านทองควรจะทำอย่างไร

  • 14 SCT Consult

    โดยปกติธุรกิจร้านค้าปลีกจะออกใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีอย่างย่อ คือไม่ระบุชื่อผู้ซื้อ ท่านสามารถสั่งพิมพ์แบบฟอร์มจากโรงพิมพ์ได้ ถ้าท่านไม่ประสงค์ขออนุญาติออกใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีอย่างย่อด้วยเครื่องบันทึกการเก็บเงิน

  • เถ้าแก่ร้านทอง 15

    ค่าใช้จ่ายต้องห้ามมีอะไรบ้างที่ไม่สามารถมาหักในนิติบุคคลใหม่

  • 15 SCT Consult

    กฏหมายประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ 65 ตรี กรุณาหารือกับนักบัญชีของท่าน

  • เถ้าแก่ร้านทอง 16

    กรณีร้านทองที่ไม่ได้ซื้อ ขาย ทองคำแท่งเลย จำเป็นที่จะต้องเป็นสมาชิกกับสมาคมทองคำหรือไม่

  • 16 SCT Consult

    ถูกต้องท่านไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิก เพราะการเปิดนิติบุคคลร้านค้าปลีกทองรูปพรรณท่านสามารถขายและนำส่งภาษีตามที่กฎหมายกำหนด ตามประกาศอธิบดีที่ 117

  • เถ้าแก่ร้านทอง 17

    กรณีลูกค้านำทองเก่ามาขายหรือนำทองเก่ามาเปลี่ยนลาย ทางร้านจะลงบันทึกทางบัญชีอย่างไร

  • 17 SCT Consult

    ขึ้นอยู่กับนโยบายการบัญชีของนักบัญชีของท่านกับผู้สอบบัญชีรับอนุญาติที่ตรวจสอบแล้วถือว่าถูกต้องครบถ้วน

  • เถ้าแก่ร้านทอง 18

    ตอนสิ้นปีของงวดบัญชี หากสต๊อกทองมีกำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจะต้องเสียภาษีเงินได้หรือไม่

  • 18 SCT Consult

    สินค้าคงเหลือในบัญชีนิติบุคคล ใช้ราคาทุน ภาษีนิติบุคคลจะเกิดขึ้นอ้างอิงจากคำตอบข้อที่ 1

  • เถ้าแก่ร้านทอง 19

    ดอกเบี้ยจากการขายฝากหรือเงินกู้ยืมจะต้องนำมาเสียภาษีอย่างไร

  • 19 SCT Consult

    รายได้ดอกเบี้ยรับเสียภาษีธุรกิจเฉพาะร้อยละ 3 และภาษีท้องถิ่นร้อยละ 10 ของภาษีธุรกิจเฉพาะ รวมเสียร้อยะ 3.3 ของรายได้ดอกเบี้ยรับ นำส่งด้วยแบบ ภธ 40

  • เถ้าแก่ร้านทอง 20

    กรณีลูกค้าคืนสินค้าชำรุดจะคืน VAT อย่างไร และจะลงบันทึกบัญชีอย่างไร

  • 20 SCT Consult

    ท่านออกใบรับคืนสินค้า ระบุว่าสินค้าชำรุด ท่านสามารถนำไปลดภาษีขายได้

  • เถ้าแก่ร้านทอง 21

    การเลิกร้านทองที่เป็นบุคคลธรรมดาจะต้องเริ่มต้นอย่างไร และ จะทำอย่างไรกับสต๊อกของเดิมในร้าน

  • 21 SCT Consult

    อ้างอิงคำตอบข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5

  • เถ้าแก่ร้านทอง 22

    การโอนทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ไปยังนิติบุคคลร้านทองใหม่ ทำได้หรือยัง

  • 22 SCT Consult

    อ้างอิงคำตอบจากข้อ 4 และข้อ 5 ท่านสามารถทำได้ ขึ้นอยู่กับการวางแผนธุรกิจของท่าน ว่าท่านมีความประสงค์จะโอนอสังหาริมทรัพย์หรือไม่อย่างไร

  • เถ้าแก่ร้านทอง 23

    กรณีนิติบุคคลกู้ยืมเงินจากกรรมการ มีกฎเกณฑ์อะไรที่เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ในทางกลับกัน หากกรรมการกู้ยืมเงินจากนิติบุคคล จำเป็นจะต้องเสียอัตราดอกเบี้ยให้กับนิติบุคคลนั้นหรือไม่

  • 23 SCT Consult

    กรณียืมจากบุคคลธรรมดาไม่มีข้อบังคับใด ว่าต้องคิดดอกเบี้ยหรือไม่คิดดอกเบี้ย ขึ้นอยู่กับการวางแผนธุรกิจ และการวางแผนภาษีของท่าน

    กรณีนิติบุคคลให้ผู้อื่นยืมเงิน หรือท่านยืมเงินจากนิติบุคคล นิติบุคคลนั้นต้องคิดอัตราดอกเบี้ยในราคาตลาด

  • เถ้าแก่ร้านทอง 24

    หากร้านทองมีสต๊อกสินค้าเยอะ แล้วในอนาคตต้องการปิดกิจการจะมีปัญหาการเสียภาษีเงินได้ หากราคาทองปรับตัวสูงขึ้นมากหรือไม่

  • 24 SCT Consult

    สินค้าคงเหลือเมื่อมีการขายและซื้อเติมตามลำดับหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลาสินค้าคงเหลือย่อมมีราคาทุนใกล้เคียงกับราคาตลาดในช่วงเวลานั้น กรณีท่านมีความประสงค์จะปิดกิจการท่านควรวางแผนว่า มิใช่เพียงสินค้าคงเหลือทอง ยังมีทรัพย์สินอื่นๆของท่าน ถ้าจำหน่ายแล้วมีกำไร จึงต้องนำกำไรมาเสียภาษีในอัตราภาษีนิติบุคคลตามปกติ

ดาวน์โหลด